อนุสรณ์ผู้เสียสละจังหวัดตาก จุดเช็คอินแม่สอด
แม่สอดดาต้า maesotdata - อนุสรณ์ผู้เสียสละ ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 74 ถนนสาย แม่สอด-ตาก เพื่อร่วมน้อมรำ ลึกถึงวีรชนผู้กล้า สละชีพเพื่อชาติ ของพลเรือนตำรวจ ทหาร
1. ประวัติความเป็นมา อนุสรณ์ผู้เสียสละจังหวัดตาก
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้เข้ามาเคลื่อนไหวเพื่อขยายเขตงานและแสวงหาแนวร่วมจากชนชาวเขา กลุ่มชาวไร่ ชาวนาในพื้นที่อำเภอแม่สอด กิ่งอำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จนกระทั่งจัดตั้งสำนักดอยหลวงและกองกำลังติดอาวุธขึ้นที่อำเภอแม่สอด ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ จากนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นต้นมา การปะทะกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลก็เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ
- พ.ศ. ๒๕๑๐: สำนักดอยหลวงและกองกำลังติดอาวุธขึ้นในอำเภอแม่สอด
- พ.ศ. ๒๕๑๖: การปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลเพิ่มความรุนแรง
- สิงหาคม ๒๕๒๓: กองกำลังเฉพาะกิจที่ ๓๔๒ ตั้งยุทธการสิงห์โตเพื่อกวาดล้างคอมมิวนิสต์
- พ.ศ. ๒๕๒๔: กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ ๓๔ ก่อตัวขึ้น
- พ.ศ. ๒๕๒๕: การสู้รบในเขตอำเภอแม่สอด กิ่งอำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผางยุติลง
- ผู้เสียชีวิต: พลเรือน ตำรวจ ทหาร ๙๓ นาย
- การรักษาอธิปไตย: พี่น้องร่วมชาติร่วมชีพ
อนุสรณ์ผู้เสียสละ ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 74 ถนนสาย แม่สอด-ตาก เพื่อร่วมน้อมรำ ลึกถึงวีรชนผู้กล้า สละชีพเพื่อชาติ ของพลเรือนตำรวจ ทหาร และประชาชนที่เสียชีวิต จำนวน 93 คน/นาย ในการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศชาติ รักษาอธิปไตยของชาติไทย
เอาไว้ เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สำนึก และจดจำเสมอว่า ในขณะที่มีภัยคุกคามต่อสันติภาพในพื้นที่จังหวัดตาก ยังมีเหล่านักรบผู้กล้าคอยปกป้องผืนแผ่นดิน
ไทยให้คงอยู่ เพื่อเป็นการน้อมรำ ลึกถึงคุณงามความดี ของเหล่าทหารหาญ อนุสรณ์สถานถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของผู้เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อที่เสียสละเพื่อประเทศชาติและอนุชนรุ่นหลัง
2. บรรยกาศรอบๆ อนุสรณ์ผู้เสียสละแม่สอด
กดแสดงความรู้สึกที่นี่